เมื่อปีพ.ศ. 2527 นายกอบกิจ ส่งศิริ ผู้ช่วยผู้อำนวยฝ่ายวิชาการ (อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนนวมินทราชูทิศมัชฌิม ปัจจุบันเป็นข้าราชการบำนาญ)เป็นผู้จุดประกายแนวคิดสร้างพลังรักสามัคคี ความเป็นหนึ่งเดียวของครู นักเรียยน บุคลากรในโรงเรียน โดยการประพันธ์เพลงเกี่ยวกับโรงเรียนขึ้นด้วยการเลือกสิ่งที่เป็นความงามและจุดเด่นของโรงเรียนมาเรียงร้อยเป็นเนื้อร้องที่งดงามและท่วงทำนองที่ไพเราะเช่น เพลงมาร์ชโรงเรียน กล่าวถึงปณิธานอุดมการณ์ของโรงเรียน เพลงตาคลีประชาสรรค์รำลึก กล่าวถึงธรรมชาติบรรยากาศอันงดงามของทิวสนสระบัวแดงที่ส่งกลิ่นหอมยวนใจในยามเช้า เพลงโพธิ์จำลา กล่าวถึงต้นโพธิ์อินเดียต้นใหญ่ที่แผ่กิ่งก้านให้ร่มเงาแก่ผู้อาศัย เป็นต้น พร้อมๆกันนั้นได้เชิญชวนคณะครูเลือกดอกไม้ประจำโรงเรียนขึ้น เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์แทนนามโรงเรียน ระยะแรก "ดอกชงโค" พันธุ์ไม้ชมพูม่วง กลีบคล้ายกล้วยไม้ถูกเลือกมาเป็นตัวแทน แต่นาม "ชงโค" ยังมีเสียงไม่เสนาะนัก ครั้นจะเลือกโพธิ์อินเดียต้นใหญ่ โพธิ์ต้นนั้นก็มีอันยืนต้นตายโดยไม่ทราบสาเหตุ
ในปีพ.ศ. 2528 โรงเรียนได้ปลูกต้นอินทนิลขึ้นที่หลังอาคาร 1 แทนโพธิ์ต้นนั้น แล้วพบว่าภายใต้รูปทรงลำต้นที่แข็งแรง กิ่งก้านสาขาแผ่คลุมบริเวณกว้าง ใบใหญ่รูปทรงเรียวสวย สีเขียวอ่อน และดอกสีม่วง กลีบบางพริ้วผลิรวมเป็นช่องดงามนั้น มีเสน่ห์ยิ่งนัก ครูพิรชัย ทิงวิชิต ครูอวุโสประจำโรงเรียนจึงเสนอให้ใช้ดอกอินทนิลเป็นสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนตาาคลีประชาสรรค์แต่นั้นมา
แต่ในปัจจุบันได้โค่นต้นอินทนิลไปแล้ว เพื่อทำโรงจอดรถ ซึ่งปัจจุบันจะหาต้นอินทนิลในโรงเรียนได้น้อย
ในปีพ.ศ. 2549 นางสาวเพ็ญจรัส สิงห์ทอง อดึตผู้อำนวยการโรงเรียนตาคลีประชาสรรค์ได้เล็งเห็นคุณค่าของพันธุ์ไม้ประจำโรงเรียน จึงให้นำต้นอินทนิลมาปลูกเพิ่มขึ้นภายในบริเวณโรงเรียน เพื่อให้ครูและนักเรียนได้เห็นความงดงามของดอกอินทนิล ที่มีสีม่วงอ่อนหวาน บางต้นก็มีดอกสีชมพูที่สวยงามไม่แพ้กัน ทั้งรูปทรง และลีลาที่ดอกหล่นคว้างจากกิ่ง ก้าน ปูพรมสีม่วงภายใต้ลำต้นที่แข็งแรง ปัจจุบันภายในรั้วโรงเรียนก็ยังมีต้นอินทนิลอยู่น้อยมาก ดังนั้นครู นักเรียน และบุคลากร ควรร่วมใจกันปลูกต้นอินทนิล เพื่อเป็นสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนตาคลีประชาสรรค์ สืบไป
เรียบเรียงโดย : นางสาววัลวิภา คำวงค์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : วารสารประชาสัมพันธ์โรงเรียนตาคลีประชาสรรค์ (อินทนิล)โดย..ครูรัศมี ธรรมวงศ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น